หลักการทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิบัตร

สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่ออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ สิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า สิทธิที่สำคัญของผู้ทรงสิทธิบัตร คือสิทธิเด็ดขาดในการแสวงหาผลประโยชน์จากการประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิบัตรนั้นแต่เพียงผู้เดียว สิทธิเด็ดขาดดังกล่าวเป็นสิทธิที่มีอยู่ชั่วระยะเวลาอันจำกัด กล่าวคือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุแห่งการคุ้มครอง 15 ปี นับแต่วันที่ยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ส่วนสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุแห่งการคุ้มครอง 7 ปี นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร สิทธิบัตรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ยื่นขอสิทธิบัตรได้ผ่านการพิจารณาและอนุมัติจาก กรมทะเบียนการค้าแล้วเท่านั้น การประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่อาจขอรับสิทธิบัตรได้ จะต้องประกอบด้วยลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือ ในกรณีของการประดิษฐ์ จะต้องเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น และสามารถประยุกต์ในทางอุตสาหกรรม และในกรณีของการออกแบบผลิตภัณฑ์ จะต้องเป็นการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่ออุตสาหกรรม บุคคลที่มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้ 1.ผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว 2. นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้าง หน่วยราชการ องค์การของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ 3. ผู้รับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตรจากบุคคลอื่น ปรึกษาปัญหากฎหมายเพิ่มเติม ทนายหยิน โทร. 065-531-251

ิ การดำเนินคดีเกี่ยวอุบัติเหตุจราจร รถชน

ในคดีอุบัติเหตุทางจราจร เช่น รถชน ถือว่าภาครัฐเป็นผู้เสียหาย จึงเป็นคดีอาญาต่อผู้กระทำ เนื่องจากเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนโดยส่วนรวม และยังเป็นคดีเกี่ยวข้องทางแพ่งเกี่ยวข้องกับคดีอาญา ซึ่งผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดในการกระทำของตนเอง รวมไปถึงความรับผิดของนายจ้างด้วย และยังเกี่ยวข้องกับความรับผิดของบริษัทประกันภัย คดีอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทยมีกฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญาที่เกี่ยวข้องดังนี้ คดีจราจรที่่ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับรถ โดยไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สิน คดีประเภทนี้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เจ้าพนักงานสามารถออกใบสั่งและผู้ต้องหาสามารถชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ คดีอาญาถือว่ายุติ หากผู้ต้องหาไม่ชำระค่าปรับ พนักงานสวบสวนต้องทำสำนวนเสนอพนักงานอัยการ เพื่อทำการฟ้องคดีอาญาต่อศาลต่อไป 2. คดีจราจรที่ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรและมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน แต่ไม่มีความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย คดีประเภทนี้เป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง 2.1 ความผิดทางอาญา เมื่อผู้ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับรถ ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 หากผู้ต้องหายอมรัีบผิด เจ้าพนักงานสามารถทำการเปรียบเทียบปรับได้ และผู้ต้องหาสามารถชำระค่าปรับตามที่พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับ คดีอาญาถือว่ายุติ หากผู้ต้องหาไม่ยินยอมหรือยินยอมแต่ไม่ชำระค่าปรับภายในกำหนดเวลา พนักงานสวบสวนต้องส่งตัวผู้ต้องหาพร้อมสำนวนเสนอพนักงานอัยการ เพื่อทำการฟ้องคดีอาญาต่อศาลต่อไป 2.2 ความผิดทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอิ่นโดยผิดกฎหมาย ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” 3. คดีจราจรที่ขับขี่ฝ่าฝืนกฎจราจรและมีความเสียหายเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน ต่อชีวิตและร่างกาย เป็นความผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่ง 3.1 ควาามผิดทางอาญา นอกจากผู้ขับขี่จะกระทำผิดต่อพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.…